วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

การนำDSNไปประยุกต์ใช้งานเชิงสร้างสรรค์

1. มีการประยุกต์จากระบบ DNS มาเป็นระบบ DDNS โดยทีมงานThai -DDN คือ DDNS ( Dynamic Domain Name System )
2. จากข้อจำกัดของระบบDNS ได้กลายมาเป็นจุดกำเนิดในการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีชื่อโดเมนภาษาไทยในปี 2542 โดยกลุ่มผู้ประดิษฐ์คิดค้นชาวไทย ที่เอื้ออำนวยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเรียกดูเว็บไซต์ผ่านทางชื่อโดเมนภาษาไทยเต็มรูปแบบ และเปิดโอกาสให้เจ้าของเว็บไซต์ที่ประสบปัญหากับการมีชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่จดจำยาก หรือใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลำบาก สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนภาษาไทยให้กับเว็บไซต์ของตัวเอง โดยใช้ตัวแปลงรหัสภาษาท้องถิ่นเพื่อทำงานร่วมกับระบบ DNS
3. ในความคิดของกลุ่มเราคิดว่า ในอนาคตข้างหน้าคาดว่ามนุษย์น่าจะสามารถพัฒนาระบบที่คล้ายกับระบบ DSN ที่สามารถแปลงรหัสภาษาของสัตว์ ให้กลายเป็นภาษาที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้และสื่อสารกันได้ หรือแปลงรหัสในหุ่นยนต์ที่มีเฉพาะภาษาของประเทศที่ผลิตหุ่นยนต์นั้นให้มีหลากหลายภาษาเพื่อความสะดวกในการสื่อสาร
ประโยชน์ที่สำคัญของ DNS
คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org)
สรุป DNS
ระบบ Domain Name System เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP Address มีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP Address หรือทำกลับกันได้ และยังมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมอื่น ๆ อีก ข้อกำหนดของ DNS คือ ชื่อในลำดับชั้นที่สองที่ต่อจาก root ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะที่ระบุรายละเอียดของกลุ่มเอาไว้ชัดเจน ข้อมูลใน DNS การทำงานของ DNS เป็นการทำงานแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ฐานข้อมูลแบบกระจาย DNS มีทางเลือกใจการใช้งาน ได้ 2 วิธี คืออาศัยเครื่อง DNS server ของผู้ให้บริการ (ISP) เพื่อแปลงชื่อเป็นหมายเลข IP Address ให้กับทุกเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายของตน ซึ่งวิธีนี้มีข้อดี คือ องค์กรนั้นไม่จำเป็นต้องเตรียมเครื่องทำหน้าที่ DNS Server และไม่ต้องคอยดูแลจัดการข้อมูลให้ยุ่งยาก แต่ก็มีข้อเสียคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเครื่องในเครือข่าย ก็จะต้องแจ้งให้ผู้ดูแลระบบของบริษัท ISP ทราบเพื่อช่วยแก้ไขข้อมูลให้ ซึ่งจะไม่สามารถทำเองได้ DNS Zone มีการแบ่งจัดการดูแล domain ออกเป็นพื้นที่ย่อยเรียกว่า zone หรือ DNS zone นี้ทำได้โดยการแบ่งกลุ่มย่อยของ node ที่มีลำดับชั้นย่อยลงไปอีกขั้นเพื่อแยก DNS server ให้ดูแลรับผิดชอบแต่ละ zone ไปช่วยให้กรณีเมื่อ DNS server ที่ดูแล zone 1 อยู่เองได้รับคำสั่งขอข้อมูลที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ ก็จะมีการส่งค่า IP Address ของ DNS server ที่ดูแล zone ที่ต้องการให้แทนDHCP การทำงานของโปรโตคอล DHCP จัดอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์ โดยเครื่องที่ทำหน้าที่เก็บฐานข้อมูลของแอดเดรสและพารามิเตอร์ ที่จำเป็นเพื่อแจกจ่ายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์หรืออุปกรณ์อื่นๆจะถูกเรียกว่า DHCP server เพื่อนำไปใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น