พูดถึงเซิร์ฟเวอร์ เป็นที่เข้าใจกันว่า คอมพิวเตอร์ที่ประสิทธิภาพสูงๆ ใช้ซีพียูที่แตกต่างไปจากพีซี เช่น ใช้ Intel Xeon (ขอพูดถึงเฉพาะเซิร์ฟเวอร์ฝั่ง Intel x86) หรือ Pentium III 800 MHz สองตัว หน่วยความจำแบบ SDRAM ประเภทสนับสนุน ECC ความจุสูง และมีหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่พิเศษ เช่น ฮาร์ดดิสก์ Ultra SCSI3 Controller , RAID ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ เราเองก็เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์.. แต่ถ้าจะจำเพาะเจาะจง ลงไป เราจะเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์อะไรกัน มีคำขยาย เพื่อให้รู้ว่า นี่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำหน้าที่ "บริการ" อะไร
ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ เมื่อปี 2539 จากเอกสารของ Intel แบ่งเซิร์ฟเวอร์ออกเป็น 4 ประเภท คือ File Server , Print Server , Database Server , Application Server การแบ่งออกเป็น 4 ประเภทนั้น แบ่งตามลักษณะการใช้งาน คือ เก็บ-บริการไฟล์ บริการ/บริหารพรินเตอร์ (การพิมพ์งาน) เก็บและบริการฐานข้อมูล และบริการ/บริหารซอฟต์แวร์ประยุกต์ ส่วน Mail Server, Internet Server หรือประเภทอื่นๆที่มีการเรียกชื่อนั้น เกิดจากการนำเอาเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 2 ประเภทมารวมกันในตัวเดียว แต่ล่าสุดหลังจากยุคของอินเตอร์เน็ตเฟื่องฟู ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเพิ่มเติมขึ้นอีก ตามข้อมูลของ webopedia ได้แบ่งประเภทของเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นถึง 12 ประเภท รวมของเก่าอีก 4 ประเภท มันก็กลายเป็น 16 ประเภท อย่าเพิ่งตกใจครับ ที่จริงแล้วในบ้านเรา คงไม่มีใครมีโอกาสได้ทำงานกับเซิร์ฟเวอร์ของทั้ง 16 ประเภทหรอก เพราะว่าหลายๆประเภทนั้น มีเฉพาะในองค์กรที่เปิดบริการเฉพาะเท่านั้น ไม่ได้มีใช้งานกันหลากหลาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น